วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

เด็กไทยเรียนหนักแค่ไหน?



หากพิจารณาข้อมูลของ UNESCO[1] แสดงจำนวนชั่วโมงเรียนต่อปีของนักเรียนในระดับอายุ 9 – 13 ปีในแต่ละประเทศ จะพบว่า
เด็กไทยเรียนหนักเป็นอันดับ 2 ในระดับอายุ 9 ปี1,080 ชั่วโมงต่อปี
เด็กไทยเรียนหนักเป็นอันดับ 1 ในระดับอายุ 10 ปี1,200 ชั่วโมงต่อปี
เด็กไทยเรียนหนักเป็นอันดับ 1 ในระดับอายุ 11 ปี1,200 ชั่วโมงต่อปี
เด็กไทยเรียนหนักเป็นอันดับ 5 ในระดับอายุ 12 ปี1,167 ชั่วโมงต่อปี
เด็กไทยเรียนหนักเป็นอันดับ 8 ในระดับอายุ 13 ปี1,167 ชั่วโมงต่อปี
ตัวเลขของประเทศอื่นๆ ที่น่าสนใจมีดังนี้ (เด็กอายุ 11 ปี)
อันดับ 2 อินโดนีเซีย1,176 ชั่วโมงต่อปี
อันดับ 3 ฟิลิปปินส์1,067 ชั่วโมงต่อปี
อันดับ 4 อินเดีย1,051 ชั่วโมงต่อปี
อันดับ 11 มาเลเซีย964 ชั่วโมงต่อปี
อันดับ 19 เยอรมนี862 ชั่วโมงต่อปี
อันดับ 28 จีน771 ชั่วโมงต่อปี
อันดับ 30 ญี่ปุ่น761 ชั่วโมงต่อปี
ตัวเลขเหล่านี้นับเฉพาะ “เวลาเรียนในโรงเรียน” เท่านั้น ยังไม่รวมเวลาเรียนพิเศษนอกเวลา
เป็นที่น่าสังเกตว่าเวลาที่ใช้ในการศึกษาภาคบังคับของเด็กไทยไม่ได้เปลี่ยนไปมากจากชั้นประถมไปสู่มัธยม ในขณะที่บางประเทศให้เวลากับชั้นมัธยมมากยิ่งขึ้น (ดังจะเห็นได้จากอันดับของไทยที่ลดลง) และยังน่าสังเกตด้วยว่าเยาวชนในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วล้วนมีชั่วโมงเรียนที่น้อยกว่าเยาวชนไทย หรือแม้กระทั่งเยาวชนในกลุ่มประเทศที่ “เชื่อกันว่า” เรียนหนักกว่าเราเช่น จีน หรือ ญี่ปุ่น ก็ล้วนมีชั่วโมงเรียนน้อยกว่าเราเช่นกัน
แอดมินเชื่อว่า “ผู้ใหญ่” ในวันนี้ซึ่งล้วนเคยเป็นเด็กนักเรียนมาก่อน น่าจะทราบดีว่าคุณภาพของการศึกษาไม่ได้ขึ้นกับจำนวนชั่วโมงเรียนเพียงอย่างเดียว คำถามก็คือเวลาเราพูดเรื่องการจัดการศึกษา หรือคุณภาพการศึกษาของเด็กไทยนั้น เราได้ดูหรือไม่ว่าเด็กไทยเรียนมากหรือน้อยเพียงใด และแค่ไหนถึงควรจะเป็นปริมาณที่เหมาะสม?
ที่มา whereisthailand

ไม่มีความคิดเห็น: