http://www.thaiall.com/java/slidejquery/slide.htm

วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

“ยุค ศรีอาริยะ” แฉ 11 กันยา มะกันฆ่า ปชช.ตัวเองเพื่อฟื้น ศก.

“ยุค ศรีอาริยะ” แฉ 11 กันยา มะกันฆ่า ปชช.ตัวเองเพื่อฟื้น ศก.

“ดร.เทียนชัย” ชำแหละ 11 กันยา ซีไอเอรู้ความเคลื่อนไหวกลุ่มผู้ก่อการมาโดยตลอด แต่จงใจปล่อยให้ทำ เพียงเพื่อเป็นข้ออ้างถล่มอัฟกานิสถาน-อิรัก เปิดทางโกยผลประโยชน์มหาศาลฟื้นเศรษฐกิจประเทศ พร้อมหวังผลขัดขวางการเติบใหญ่ของจีน ชี้ “อิหร่าน” เป้าหมายต่อไป ถ้า “มิตต์ รอมนีย์” จากรีพับลิกันได้เป็นประธานาธิบดีมีโอกาสเกิดสงครามใหญ่ 



วันที่ 11 ก.ย. 55 ดร.เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ นักเขียนนามปากกา “ยุค ศรีอาริยะ” ได้กล่าวในรายการ “คนเคาะข่าว” ทางสถานีโทรทัศน์ ASTV ว่า ก่อนเกิดเหตุการณ์ 11 กันยา อเมริกาเกิดฟองสบู่แตกตอนปี 2000 เวลาเศรษฐกิจทรุด มีวิธีการแก้หลายแบบ แต่มีวิธีหนึ่งที่เคยใช้ในช่วงสงครามโลก เรียกว่าลัทธิเคนส์เซียน คือรัฐจะเข้าไปกระตุ้นการใช้จ่ายให้เกิดการจ้างงาน แต่มีเคนส์เซียนอีกอันเรียกว่า เคนส์เซียนทางทหาร วิธีนี้ทำให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว โดยใช้เงื่อนไขต่างๆ ในการก่อสงคราม เวลาทำต้องนึกให้ดีทำแล้วต้องโกยผลประโยชน์มาให้ได้มาก เคยถูกใช้ในสมัยฮิตเลอร์ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เศรษฐกิจเยอรมันตกต่ำ ก็เลยใช้ลัทธิเคนส์เซียนทางทหารบุกประเทศอื่นแล้วโกยความมั่งคั่งกลับมา

ก่อนเกิดเหตุการณ์ 11 กันยา ตนเคยนึกสงสัยว่าอเมริกาจะกล้าใช้สูตรนี้หรือเปล่า เพราะถ้าใช้จะต้องมีเงื่อนไขในการอ้างทำสงคราม ซึ่งตอนนั้นมีผู้ก่อการร้ายที่สามารถก่อสถานการณ์แบบสาสากลได้ มีอยู่เพียงกลุ่มเดียว คือ อัลกออิดะห์ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ก่อการร้ายที่เกิดขึ้นจากฝีมือของอเมริกาเอง โดยร่วมกับซาอุฯ เป็นแบ็กอัพให้เกิดอัลกออิดะห์ เพื่อเคลื่อนไหวล้มอิทธิพลของรัสเซียที่เข้ามาที่อัฟกานิสถาน

พอเห็นเครื่องบินชนตึก ตนรู้เลยว่าอเมริกาคิดใหญ่มาก ปั้นน้ำเป็นตัวแบบน่ากลัวมาก ทฤษฎีเก่าๆ ถูกเอามาใช้แล้ว เหมือนกับเป็นการสร้างภาพครั้งใหญ่ หลอกคนทั้งโลกเพียงเพื่อเงื่อนไขในการประกาศสงคราม พอทั้งโลกเห็นว่าถึงขั้นชนตึก คนตายเกือบ 3 พันคน มันใหญ่พอที่จะอ้างความชอบธรรมในการประกาศสงครามกับผู้ก่อการร้ายที่มีเพียงกลุ่มเดียว

ดร.เทียนชัยกล่าวต่อว่า ตนขอใช้คำว่าอเมริกาเปิดเงื่อนไขให้มีการโจมตี ภายหลังมีการเช็กข้อมูลพบว่า คนทำเป็นนักศึกษาซาอุฯ ที่เข้ามาเรียนแถวยุโรปจำนวน 18 คน ซึ่งตนคิดว่าไม่ใช่อัลกออิดะห์ แล้วการเคลื่อนไหวของนักศึกษากลุ่มนี้ ซีไอเอรับรู้มาตลอดว่ากลุ่มนี้คิดอะไรอยู่ แต่เขาปล่อยให้เด็กทำ แล้วมันง่ายหรือที่เด็ก 18 คนจะปล้นเครื่องบินได้ถึง 4-5 ลำ ถ้าซีไอเอรู้มาโดยตลอด

ที่น่าสงสัยกว่านั้น คือ ที่เพนตากอน ข่าวออกว่ามีเครื่องบินชนเพนตากอน แต่ตรวจสอบหลังจากนั้นไม่พบแม้แต่ซากเครื่องบิน มีแค่ระเบิด ซึ่งใครทำก็ไม่รู้ แสดงว่าอาจไม่มีการจี้เครื่องบินเกินกว่า 2 ลำ คนอเมริกาเองก็เริ่มสงสัยขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งมีการสร้างหนังเรื่อง 9/11 หนังได้ตั้งคำถามที่น่าสนใจ คือ หลังจากเกิดเหตุการณ์มีการสั่งปิดสนามบิน ห้ามเครื่องบินออกเลย แต่มีเครื่องบินลำหนึ่งบินออกไปได้ พบว่าผู้โดยสารในเครื่องบินลำนั้นล้วนแต่มีชื่อลงท้ายด้วย “บิน ลาดิน” คนตระกูลบิน ลาดิน ส่วนใหญ่เรียนที่อเมริกาเยอะ มีที่เป็นนักธุรกิจด้วย โดยตระกูลบิน ลาดินนั้นทำธุรกิจใกล้ชิดกับกษัตริย์ซาอุฯ พอหลังจากให้ออกจากประเทศ อเมริกาก็ประกาศว่าคนที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์คือบินลาเด็น

ดร.เทียนชัยกล่าวอีกว่า ในยุคนั้นเศรษฐกิจจีนขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อเมริกากังวลว่าโลกจะพลิกผัน ซึ่งจีนนั้นผลิตอุตสาหกรรม จึงต้องขึ้นอยู่กับน้ำมันเป็นหลัก ถ้าอเมริกาควบคุมแหล่งน้ำมันได้ก็เอาจีนอยู่ ตอนนั้นจีนกำลังพุ่งเป้าไปลงทุนน้ำมันในย่านประเทศยุโรปตะวันออกที่แตกออกมาจากรัสเซีย นี่คือแหล่งน้ำมันใหญ่อันดับสองของโลกรองจากตะวันออกกลาง แต่ออกสู่ทะเลไม่ได้ จะออกสู่ทะเลต้องผ่านอัฟกานิสถาน นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้อเมริกาเลือกที่จะโจมตีอัฟกานิสถาน โดยอ้างว่าให้ที่หลบซ่อนแก่บิน ลาดิน น่าแปลก ประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก แค่ใช้ทหารปิดล้อมก็เอาอยู่แล้ว แต่นี่โจมตีและยึดครอง ก็เพื่อยุทธศาสตร์ในการปิดเส้นทางลำเลียงน้ำมันจากยุโรปตะวันออกเข้าจีน แล้วหลังจากยึดอัฟกานิสถานแล้ว ยังไม่ติดตามตัวบินลา ดิน แต่ดันไปอิรักต่อ อ้างว่าซัดดัมหนุนผู้ก่อการร้าย ทั้งๆ ที่ซัดดัมไม่เคยรู้จักกับอัลกออิดะห์เลย ไม่เกี่ยวพันกันแม้แต่น้อย นั่นก็เพราะอิรักคือแหล่งน้ำมันอันดับสองของตะวันออกกกลางรองจากซาอุฯ ซึ่งซาอุฯ เป็นพันธมิตรของสหรัฐฯ อยู่แล้ว ถ้ายึดสองที่นี้ได้ สหรัฐฯ ก็คุมน้ำมันโลกได้แล้ว



หลังก่อสงคราม เศรษฐกิจอเมริกาก็ฟื้น เพราะเมื่อมีสงคราม รัฐบาลจะสั่งซื้ออาวุธมหาศาลจากบริษัทค้าอาวุธ เกิดการจ้างคนเพิ่ม มีการขนคนนับแสนไปทำสงครามด้วยค่าจ้างค่อนข้างสูง นี่คือการฟื้นเศรษฐกิจด้วยยุทธศาสตร์ทางทหาร แก้ได้ทั้งเศรษฐกิจฟองสบู่ และสถาปนาตัวเองขึ้นมามีอำนาจเหนือระบบโลกได้ด้วย ทำสองประเด็นพร้อมๆ กัน

ดร.เทียนชัยกล่าวต่อไปว่า เบื้องต้นดูเหมือนสหรัฐฯ จะทำสำเร็จในการควบคุมตะวันออกกลาง ปิดทางออกของแหล่งน้ำมัน ยึดครองอิรักได้ เหมือนระบบโครงสร้างอำนาจ อเมริกาสามารถจัดระเบียบโลกใหม่ได้แล้ว เศรษกิจฟื้นตัว จนกระทั่งมาเกิดแฮมเบอร์เกอร์ไครซิส นั่นก็เพราะว่าอเมริกาพยายามทำให้เศรษฐกิจจีนทรุดให้ได้ ช่วงหนึ่งพยายามดันราคาน้ำมันให้สูง โดยอ้างว่าน้ำมันกำลังจะหมดโลก จนกระทั่งเศรษฐกิจย่านเอเชียสั่นคลอนเป็นทิวแถว จีนเองก็กระทบแต่พยายามฝืนราคาตลาด สู้อยู่ 1-2 ปี ทีนี้ปัญหาน้ำมันแพงมันย้อนไปที่อเมริกา แต่อเมริกาไม่คิดว่าฟองสบู่จะแตก เผอิญมีจุดอ่อนคือซับไพรม์ ยอมให้คนไม่มีรายได้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ พอราคาน้ำมันแพง คนไม่มีเงินเลยหยุดการจ่ายหนี้ อเมริกาคิดไม่ถึงตรงนี้ว่ามันจะย้อนกลับมาทำให้ประเทศตัวเองฟองสบู่แตกรอบสอง

ดร.เทียนชัยยังกล่าวว่า อเมริกาเล็งถล่มอิหร่าน แต่ต้องคิดเยอะเพราะพื้นที่ใหญ่ แล้วคนส่วนใหญ่เป็นมุสลิมนิกายชีอะห์ ซึ่งฐานชีอะห์ใหญ่มาก ถ้าเปิดศึกอิหร่านต้องใช้สงครามใหญ่ อิสราเอลพยายามดึงแผนสงครามนี้เพื่อให้อเมริกาโจมตีอิหร่านให้ได้ คนรับแผนก็คือรีพับลิกัน ซึ่งถ้าหากนายมิตต์ รอมนีย์ ได้เป็นประธานาธิบดี อาจเปิดแผนนี้ แต่นายโอบามาไม่เอาแน่ เพราะเกรงว่าถ้าพลาดไม่คุ้ม อาจปิดประวัติศาสตร์อเมริกาเลยก็ได้

ที่มา:http://www.manager.co.th

วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

NATIVE ADVERTISING: ข่าวที่ไม่ใช่ข่าว?


(บทความนี้ ตั้งคำถามกับข่าว นักข่าว และสิ่งที่ไม่ใช่ข่าว!)
 ธาม เชื้อสถาปนศิริ, นักวิชาการสื่อ, timeseven@gmail.com
สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.)




ไม่มีใครอ่านโฆษณาอีกต่อไป ผู้คนต้องการอ่านในสิ่งที่พวกเขาอยากอ่าน แม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นโฆษณาก็ตาม! เป็นคำสรุปที่พูดถึงงานโฆษณาในยุคเดิม และยุคใหม่ที่ผู้อ่านไม่รู้ตัวว่ากำลังอ่านโฆษณา

แน่นอน คุณคงเคยได้ยินคำว่า ข่าวร้ายลงฟรี ข่าวดีเสียตังค์หรือไม่? เพราะนี่กำลังจะกลายเป็นประโยคทีเล่นทีจริง ที่เริ่มจริงมากขึ้นในวรรคหลัง

มันเริ่มที่เหตุผลว่า ทำไมข่าวสื่อจึงมีแต่ข่าวร้าย, ข่าวดีหายไปไหน?, มันกลายโอกาส สำหรับองค์กรสื่อที่ทำให้หารายได้มากขึ้น, มันเป็น วิกฤติของวิชาชีพสื่อต่อจรรยาบรรณวิชาชีพ และมันเป็นความสลับซับซ้อนต่อผู้เสพข่าว ว่าเราอยู่ในโลกของความจริงรอบด้าน หรือความจริงครึ่งเดียว?


>>>>>1) Native Ad. : ข่าวหรือโฆษณา?

กันยายน 2013 ที่ผ่านมา, คณะกรรมการการค้าพันธรัฐ หรือ Federal Trade Commission (FTC) อเมริกา, ได้แสดงความกังวลต่อรูปแบบการโฆษณาที่ เบลอระหว่างเนื้อหาข่าวกับโฆษณา โดยมีบริษัทด้านการตลาดใช้วิธีการโฆษณาแฝงลงไปในข่าว ที่เรียกว่า “Native Ad” โดย FTC ออกประกาศเตือนองค์กรข่าวหนังสือพิมพ์ สื่อวิทยุโทรทัศน์ ที่ใช้วิธีการโฆษณาเช่นนี้ ว่าไม่เป็นธรรมสำหรับผู้บริโภค เพื่อเริ่มเห็นปรากฎการณ์ข่าวโฆษณาแฝงนี้มากขึ้นบนสื่อออนไลน์และสื่อสิ่งพิมพ์หลายแขนงใช้โฆษณาแบบนี้

วิกิพีเดียอธิบาย “Native Advertising” คือโฆษณาผ่านเว็บ ที่นักโฆษณาพยายามทำให้ดูน่าสนใจจากผู้อ่านด้วยการจัดพื้นที่โฆษณาให้อยู่ในบริบทที่ผู้อ่านคุ้นชินและมีประสบการณ์ โฆษณาที่ดูเป็นธรรมชาตินี้จะมีรูปแบบและหน้าที่เสมอเหมือนบนหน้าเพจที่มันวางอยู่ (จนคุณไม่รู้ว่าเป็นโฆษณา)

และมันจะต้องตีพิมพ์ หรือปรากฏอยู่อย่างบ่อยๆ เสมอๆ เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้กับผู้อ่านเสมือนว่าเป็นหน้าที่และสิ่งที่ขาดไปไม่ได้บนหน้าสื่อนั้นๆ

ว่าที่จริง โฆษณาข่าวแบบดูธรรมชาตินี้มันก็คล้ายกับโฆษณาเนื้อหาแบรนด์ (brand content) หรือ คล้ายๆ กับบทความเชิงโฆษณา (advertorial) แต่จุดต่างคือ มันทำให้ผู้คนยอมรับที่จะคลิ๊กอ่านมากกว่า และผู้โฆษณาก็ยินดีที่จะจ่ายเงินให้กับสื่อมากกว่าโฆษณาแบบเดิมๆ

วิธีการโฆษณาแบบโฆษณาแฝงนี้ ใช้ลักษณะการเขียนข่าว การเล่าเรื่องเหตุการณ์ต่างๆ ให้ผู้อ่านคิดว่านี่เป็นชิ้นข่าว โดยที่ผู้อ่านไม่รู้สึกถึงความแปลกแยกแตกต่าง, ซึ่งแทนที่จะทำเช่นเดิม คือการกรอบพื้นที่โฆษณาตรงๆ ไปในหน้าหนังสือพิมพ์ แต่พวกเขา (นักข่าว/นักโฆษณา?) กลับใช้วิธีการเขียนข่าวลงและแฝงเนื้อหาโฆษณาจากบริษัท หน่วยงาน สินค้า และบริการต่างๆ ที่พวกเขารับจ้างลงไปแทน

วิธีการโฆษณาเช่นนี้ ถูกใช้ในหนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ เช่น นิตยสารไทมส์แม็กกาซีน บลูมเบิร์ก ฟอร์บส์ นิวยอร์กไทมส์ วอชิงตันโพสต์ กระทั่งในเฟซบุ๊ค หรือทวิตเตอร์ก็ตาม

นักหนังสือพิมพ์และนักวิชาการเชื่อว่า “native ad” นี้จะสร้างความสับสนให้แก่ผู้อ่าน และทำลายมาตรฐานวิชาชีพนักข่าว (วารสารศาสตร์) โดยเฉพาะกระบวนการคิด/คัด/เลือกประเด็นข่าวที่มีผลต่อสาธารณะประโยชน์ที่ประชาชนควรรับรู้

และส่งผลต่อ แนวคิดเรื่องคุณค่าข่าว (news values)” ผิดเพี้ยนไปจากเดิม, ซึ่งเน้นไปที่ ผลกระทบสาธารณะ, เรื่องประโยชน์สาธารณะ, และเป็นสิ่งที่สาธารณะให้ความสนใจ/สำคัญ

ที่น่าสนใจคือ หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ ประกาศ(อย่างโจ่งแจ้งทางการ) ต่อสปอนเซอร์ต่างๆ เพื่อ ขายพื้นที่ข่าวโฆษณาแท้ๆให้กับผู้ที่สนใจ โดยได้จัดตั้งหน่วยพิเศษขึ้นมาในกองบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ตนเอง เพื่อปรับรับการทำการเขียนข่าวแบบโฆษณาแท้ๆ ให้กับองค์กรบริษัทต่างๆที่ต้องการทำการโฆษณาแบบหวังผลการอ่านที่แท้จริง

อย่างไรก็ตาม การโฆษณาแบบนี้มิใช่สิ่งใหม่ทีเดียวนัก โฆษณาประชาสัมพันธ์เช่นข่าวแจก (Press Release) ก็ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการโฆษณาในข่าว โดยใช้ข่าวเป็นการโฆษณาของบริษัท/องค์กรมายาวนาน เพียงแต่นั่นอาจดู เก่า เชย และตรงไปตรงมาด้วยภาษาข่าวที่เป็นแบบตามฉบับลีลาขององค์กรนั้นๆ หรือในบางครั้ง องค์กรธุรกิจก็อาจพานักข่าวไปดูงานต่างประเทศ หรือเปิดตัวสินค้าผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อให้นักข่าวกลับมาเขียนข่าวให้เพื่อแลกกับค่าตอบแทนในการท่องเที่ยว หรือ มีสิ่งของสมนาคุณอื่นๆ

การเขียนข่าวโฆษณาแบบ เนทิฟแอดเพื่อให้ผู้อ่านเชื่อว่าเป็นข่าว นักข่าวต้องอาศัยทักษะอย่างมาก (ว่าที่จริงก็ไม่มากกว่าเดิม เพราะใช้ทักษะการทำข่าวแบบเดิมนั่นเอง) 3 อย่างคือ
(1) รูปแบบภาษาของหนังสือพิมพ์นั้นๆ ลีลา คำ แนวเล่าเรื่อง
(2) เนื้อหา แนวทางเนื้อหา, การกำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้อ่าน, แง่มุมของข่าวที่สอดคล้องกับแบรนด์สินค้า
(3) การจัดวางองค์ประกอบศิลป์ แบบตัวอักษร, งานออกแบบกราฟิก

และกลยุทธ์ของงานโฆษณาเนทีฟแอด จะทำ 3 อย่าง คือ
บูรณาการเนื้อหาข่าวที่ผู้อ่านอยากอ่าน กับ โฆษณาในสิ่งที่สปอนเซอร์มุ่งหวัง + เพิ่มทักษะการผลิตระหว่างนักข่าว นักโฆษณา และนักออกแบบ + พันธะสัญญาผูกพันระหว่างองค์กรข่าว เอเจนซี่ นักโฆษณาและนักการตลาดในระยะยาว” (ดูเพิ่มเติม http://mashable.com/2012/12/13/infographic-native-advertising/) ซึ่ง เนทีฟแอดนี้กลายเป็นที่นิยมมากขึ้น จากผลการสำรวจผู้ค้า ธุรกิจองค์กร ค้นพบว่าพวกเขายินดีทำการโฆษณาแบบนี้เพิ่มมากขึ้นเป็น 57% ในปี 2013 ทั้งๆ ที่ปีที่แล้วมีเพียง 12.6% เท่านั้นที่คิดว่ามันได้ผล

และมีธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์มากถึง 37% ที่บอกว่าพวกเขาอยากจะเพิ่มข่าวโฆษณาแบบเนทีฟแอดนี้ลงไปในเนื้อหาของตน โดยสาเหตุที่ทำให้เนทีฟแอดมีความสำคัญมากขึ้นเช่นนี้ ก็เพราะสถิติการคลิ๊กโฆษณาแบนเนอร์บนอินเตอร์เน็ตระหว่างปี 2000 – 2012 นั้นลดลงอย่างน่าตกใจ คือ จาก 9% ลงลงเหลือเพียง 0.2% เท่านั้น

ข้อดีจริงๆ ของเนทีฟแอด คือ มันดูไม่เหมือนโฆษณาเอาเสียเลย, และค่อนข้างเป้นวิธีการที่ดีในการโฆษณาบนสื่อออนไลน์ สื่อสิ่งพิมพ์ มันใช้ได้ดีกับการตลาด เพราะผู้อ่านจะไม่ปฏิเสธมัน ด้วยลักษณะแบบเดิมๆ คือ แถบโฆษณา

ทั้งหมดก็เพื่อให้ผู้อ่านเชื่อจริงๆ ว่า ที่อ่านอยู่นั้นคือข่าว


>>>>>2) promotion news : นักโฆษณามีอิทธิพลเหนือนักข่าว?

คำถามที่สำคัญคือ ถ้าโฆษณาเช่นนี้ถูกใช้มากๆ ในสื่อหนังสือพิมพ์ แล้วอะไรที่จะเกิดขึ้นกับข่าวล่ะ?

คำตอบง่ายๆ ก็คือ แนวคิดเรื่องคุณค่าข่าวจะถูกบิดเบือนและทดแทนผลประโยชน์สาธารณะด้วยผลประโยชน์ทางการค้าธุรกิจโฆษณาเสียแทนนั่นเอง
บทความชื่อ “Beyond advertising and Journalism: hybrid promotional news discourse” ในวารสาร Discourse & Journal โดย Karmen Brjavec วิเคราะห์ปัญหานี้ว่า เส้นแบ่งระหว่างข่าวกับโฆษณาที่เบลอมากขึ้นด้วยความกังวลใจที่ว่า เมื่อก่อนผู้อ่านอาจะสามารถแบ่งว่าอะไรคือโฆษณา หรือ บทความเชิงโฆษณาได้ออก แต่หลายปีที่ผ่านมานี้ ความชัดเจนเรื่องนี้ ยากที่จะดูออกไปทุกที

เขาเรียกมันว่า ข่าวโปรโมท – promotional news” ซึ่งก็อาจเก่าสำหรับยุคนี้ ที่ใช้วิธีการนี้มานาน, วิธีการศึกษาของเขา คือการสัมภาษณ์นักข่าวและสปอนเซอร์ สังเกตอย่างไม่มีส่วนร่วมกับกองบรรณาธิการ การประชุมโต๊ะข่าว และการวิเคราะห์ภาษาในหนังสือพิมพ์ ซึ่งทำให้สามารถค้นพบ 6 องค์ประกอบสำคัญในการ ทำโฆษณาให้เป็นข่าวที่อาจมาทำลาย/หรือดัดแปลงวิธีการเขียนข่าว ไปอย่างสิ้นเชิง ดังนี้


(1)          การกำหนดหัวเรื่องข่าว;

ซึ่งถ้าเป็นข่าวปกติ บก. หรือหัวหน้าข่าวจะเป็นคนวางแนวเรื่องข่าวตามสิ่งที่ผู้ชม/ผู้อ่านควรจะทราบ แต่ถ้าเป็นข่าวโปรโมท จะต้องมีเนื้อหาเช่น เนื้อหาเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่ได้รับการปรับปรุง, การทำสัญญาใหม่ๆ ที่องค์กรจัดทำ หรือที่ลูกค้าสามารถทำได้, ความสำเร็จก้าวหน้าขององค์กรธุรกิจ, มีบุคคลสำคัญ(ใคร)มาเยี่ยมชมที่โรงงาน/บริษัท, บริษัทได้สั่งซื้อสินค้าหรืออุปกรณ์ใหม่มาเพื่อการผลิตสินค้า/บริการ, แผนงานธุรกิจสำคัญของบริษัท, วิธีการอื่นๆ ที่จะวัดความสำเร็จ ซึ่งปกติแล้ว แง่มุมของเรื่องราวเช่นนี้จะไม่ถูกพิจารณาเป็นประเด็นข่าวไปได้ในอดีต แต่ปัจจุบัน มันคือประเด็นข่าวหลักๆ ในข่าวโปรโมท

(2)          การกำหนดทัศนะมุมมองของข่าวบางมุม;

จะมีเพียงแง่มุมเดียว ซึ่งมักเป็นเชิงบวก ภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร และมีกลุ่มเป้าหมายของข่าวชัดเจนเพียงกลุ่มเดียว (กลุ่มลูกค้าที่ดู หรืออ่านข่าวนี้)

(3)          การกำหนดแหล่งข้อมูลทางเดียว;

หากเป็นข่าวปกติ จะต้องมีแหล่งข่าวที่หลากหลาย สมดุล สะท้อนความคิดเห็นที่ต่างมุมมอง แต่เมื่อเป็นข่าวโปรโมชั่น อาจมีแหล่งข่าวได้หลายคน หลายแหล่ง แต่ทุกแหล่งที่นำมาอ้าง จะสะท้อนมุมมองด้านเดียวกันทั้งหมด และส่วนมากจะเป็นด้านที่มาจากฝั่งบริษัท/ธุรกิจองค์กรนั้นๆ

(4)          การกำหนดกลุ่มคำที่ใช้เติมแต่งในรายงานข่าว;

ปกติภาษาข่าวโดยทั่วไปมักใช้กลุ่มคำในเชิงลบ เชิงขัดแย้ง, แต่ข่าวโปรโมทจะใช้กลุ่มคำที่มีความหมายเชิงบวก, คำที่มีความสอดคล้องกับความสำเร็จ หรือเกี่ยวกับสโลแกน หรือ คำโฆษณาขององค์กรนั้นๆ ลงไปในภาษาข่าว เช่น คำที่สื่อความหมายสร้างภาพลักษณ์องค์กร สื่อถึงความสำเร็จของสินค้า/บริการ, คุณภาพที่ดี, คำคุณศัพท์เชิงบวกเหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ความสำเร็จของบริษัทในสายตาผู้อ่านให้ดีมากขึ้น

(5)          การถ่ายทอดกรรม;

วิธีการเขียนข่าวโปรโมท จะมีโครงสร้างประโยคที่เปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่างบริษัทที่ทำดี กับที่ไม่ได้ทำดี (หรือดีไม่พอ)โดยเขียนข่าวในลักษณะเปรียบเทียบความดีกว่า พัฒนากว่า ปรับปรุงกว่า เพิ่มมูลค่ากว่า ประหยัดกว่า ดีกว่า กับ อีก องค์กรหนึ่ง (หรือก็สามารถใช้ได้ทางการสื่อสารเปรียบเทียบทางการเมือง เช่นกัน)

(6)          การสร้างคำจดจำ;

การเขียนข่าวโปรโมท มักใช้คำเรียกชื่อเต็ม/ทางการตลาดของบริษัทบ่อยครั้ง และขึ้นต้นประโยคทุกครั้ง หรือไม่ก็ พูดชื่อสินค้า และบริการนั้นๆ บ่อยในทุกขึ้นย่อหน้าข่าว ซึ่งแตกต่างจากการเขียนข่าวแบบปกติ ที่มักจะเขียนคำย่อ ชื่อย่อ

นอกจากนี้ ผลการศึกษายังค้นพบว่า ข่าวโปรโมชั่นนี้จะถูกกำหนดเป็นโฆษณาอย่างหนึ่งในกองบรรณาการ โดยจะมี ตัวแทนมากำหนดแนวทางการเขียนข่าวโดยมุ่งผลประโยชน์ของบริษัท/ธุรกิจ/การเงินและการสร้างกำไร มากกว่าผลประโยชน์ในแบบกองบรรณาธิการข่าว

ที่น่าสนใจคือ นักข่าวและกองบรรณาธิการส่วนมากมีปฏิกิริยาเชิงบวกต่อรูปแบบการทำงานแบบนี้ เพราะว่าทุกคนได้รับผลประโยชน์ทั้งหมด

นักข่าวได้รายได้มากขึ้นและสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำงานมากขึ้น เจ้าของหนังสือพิมพ์ได้เงินค่าโฆษณาและการบริหารจัดการที่สะดวกมากขึ้นด้วยความช่วยเหลือของสปอนเซอร์ในการทำข่าว (ค่ารถ ค่าที่พัก ค่าอุปกรณ์ ค่าเขียนชิ้นข่าว และค่าโฆษณาโดยตรง) นักโฆษณาก็ได้ผลตอบรับที่ดีจากเนื้อหาโฆษณาที่ตอบโจทย์บริษัท เข้าถึงผู้อ่าน และสร้างความเป็นไปได้ในโอกาสทางธุรกิจมากกว่า และในแง่มุมของผู้บริโภค ก็ได้เนื้อหาข่าวที่ดีกว่าเดิม มีข้อมูลถูกต้องมากขึ้น รายละเอียดมากขึ้น อรรถประโยชน์อื่นๆ มากขึ้น หรืออาจหมายรวมไปถึง ตัวเล่มหนังสือพิมพ์ที่จะได้คุณภาพกระดาษดีขึ้น สีสัน การพิมพ์ที่ดีขึ้น เพราะสปอนเซอร์ยินดีจ่ายให้ดีกว่าไปลงค่าโฆษณาตรงๆ แพงๆ แต่ผู้อ่านเปิดผ่านไปโดยไม่เหลียวมอง


โฆษณาแบบนี้ สปอนเซอร์ต้องจ่าย เป็น 3 เท่าของอัตราค่าโฆษณาแบบเดิม!

โดยตัวแทนโฆษณาจะ ประสานงานโดยตรงกับบรรณาธิการข่าว ที่เรียกว่า ขอความอนุเคราะห์ร่วมมือซึ่งจะรับรู้และเรียกชิ้นข่าวโฆษณานี้ว่า ข่าวโฆษณาแฝง” (hidden advertisement) หรือ ข่าวซื้อ” (paid news)
เมื่อเส้นแบ่งบางๆ ระหว่างโฆษณากับข่าวค่อยๆ จางลงไป, การแบ่งบทบาทหน้าที่ระหว่างฝ่ายโฆษณา กับฝ่ายข่าว ก็หายไปด้วย, นั่นทำให้นักโฆษณาเริ่มเข้ามามีอิทธิพลอยู่เหนือบรรณาธิการข่าว, เพราะหลายๆ ครั้งการตกลงทำข่าวโฆษณา เป็นเรื่องของการหารายได้เข้าองค์กรมากกว่าความอิสระทางบรรณาธิการเช่นในอดีต

นักข่าวหลายคน จำเป็นที่ต้องฝึกให้เขียนข่าวในลักษณะงานโฆษณามากขึ้นด้วยความเต็มใจ


>>>>>3) new journalism : วารสารศาสตร์แนวใหม่-แนวของใคร?

อย่างไรก็ตามผลการศึกษา ของ Karmen ชี้ว่า บรรณาธิการข่าวหนังสือพิมพ์มีปฏิกิริยาในเรื่องนี้แต่งต่างกัน 3 ทาง คือ (1) ปฏิเสธการทำข่าวแบบนี้เพราะผิดจริยธรรม, (2) คือแล้วแต่คนแล้วแต่กรณี และขึ้นอยู่กับนโยบายหรือผลประโยชน์ที่ได้ว่าขัดแย้งหรือไม่กับแนวทางตน/และองค์กร, (3) คือ ยอมรับการโฆษณาแบบนี้ด้วยเหตุผลแรงกดดันทางธุรกิจที่ต้องแข่งขันหารายได้ หากไม่รับ, สปอนเซอร์เหล่านี้ก็ไปลงโฆษณาแบบนี้ที่องค์กรสื่ออื่นๆ อยู่ดี!

เมื่อมองลงไปที่ตัวนักข่าวในองค์กร ค้นพบ 5 ปฏิกิริยาคือ
(1) ปฏิเสธโดยสินเชิงเพราะผิดจริยธรรมวิชาชีพ,
(2) ปฏิเสธโดยหลักการ แต่ยอมรับวิธีการเช่นนี้เพราะคิดถึงความมั่นคงทางการเงินขององค์กรสื่อ,
(3) มองว่าเขียนข่าวแฝงโฆษณาแบบนี้ไม่น่าจะผิด
(4) ยอมรับการเขียนข่าวแบบนี้และทำเสมือนว่ามันเป็นเรื่องปกติ และ
(5) กระตือรือร้น และอยากเขียนข่าวแบบนี้มากขึ้น เพราะได้เงินค่าตอบแทนมากขึ้น ทำงานข่าวน้อยลง แต่ง่ายขึ้น เสร็จเร็วขึ้น!

ที่สุดเราอาจเรียกข่าวแบบนี้ว่าเป็น “market journalism” หรือ “MBA journalism” ซึ่งเป็นแนววารสารศาสตร์ที่ยืนอยู่บนหลักการที่ว่า ทำอย่างไรก็ได้ให้มีผู้อ่านมากขึ้น, ลดต้นทุนการผลิตข่าวให้ต่ำลง และ อย่ายืนขวางทางผลประโยชน์ของบริษัททุนและโฆษณาใหญ่ๆ

เมื่อมองให้ลึกขึ้น, สิ่งที่ยังเป็นคำถามคือ แนวคิดเรื่องคุณค่าข่าวเดิม ที่วิชาชีพสื่อยึดถือเป็นอุดมการณ์ จะถูกแรงปะทะท้าทายอย่างมาก, คุณค่าข่าวที่ยึดถือความสนใจสาธารณะ ประเด็นสาธารณะ และผลประโยชน์สาธารณะ ที่เป็นอุดมการณ์ของข่าวเพื่อเฝ้าระวังสังคม เตือนภัยแก่ประชาชน ตรวจสอบรัฐบาล หรือกระทั่งข่าวสืบสวน สอบสวน ก็คงจะหายไปมาก

(McDonald's in the Paper: ภาพโฆษณาแม็คโดนัลด์ที่ซื้อพื้นที่ในตัวอักษรเนื้อหาข่าว)


การสื่อข่าวโปรโมท หรือ ข่าวโฆษณาแบบเหมือนเป็นข่าวแบบนี้ จะกลายมาเป็นปัญหาสำคัญที่นักวิชาการและวิชาชีพควรได้ถกเถียงกันมากขึ้น

และตั้งคำถามต่อแนวคิดเรื่อง ผู้กำหนดวาระข่าวสาร ผู้คัดกรองข่าวสาร (agenda setting/gate keeper) ว่า เมื่อข่าวไม่ใช่ข่าว และแนวคิดคุณค่าข่าว ถูกย้ายฐานการผลิต สรรหา เลือกเฟ้นจากฐานผู้อ่าน ไปสู่ฐานของสปอนเซอร์ผู้สนับสนุนข่าวเป็นหลัก?

เมื่องานโฆษณา กลายมาเป็นอำนาจอิทธิพลในห้องข่าว ต่อกองบรรณาธิการ และต่อตัวจิตวิญญาณของคนข่าวเดิม ต่อไปนี้ ความจริงที่นักข่าวเคยตั้งหน้าแสวงหา ก็คงกลายเป็นความจริงเพียงครึ่งเดียว?

หากข่าวโปรโมทมีมากขึ้น และดีตามที่นักข่าวนำมาอ้างจริง คำถามคือ สังคม/ประโยชน์สาธารณะได้ประโยชน์ด้วยหรือไม่?

และนิยามข่าวในวิชาข่าวคงต้องรื้อสร้างเปลี่ยนแปลงกันยกใหญ่, ปัญหาคือ นักข่าวจะคงหลักการวารสารศาสตร์แบบเดิมเอาไว้ ในเรื่องความสมดุล เป็นธรรม ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน หรือจะเปลี่ยนเป็นแนวทางใหม่ตามความคิดสร้างสรรค์ของนักโฆษณากันดี?

หลายปีก่อน บริษัทอาหารแม็คโดนัลด์ซื้อโฆษณาบนหน้าหนังสือพิมพ์ประเทศคานาดา โดยลงโฆษณาเป็นรูปแฟรนซ์ไฟร์ด และรูปแฮมเบอร์เกอร์ โดยใช้การแต่งสีสันของตัวหนังสือ/ตัวอ่านให้เป็นสีของแฮมเบอร์เกอร์ หรือรูปแฟรนซ์ไฟร์ด แต่เนื้อหาข่าวนั้นยังเป็นข่าวจริงทั่วๆ ไป! ณ ตอนนั้น เป็นความตื่นเต้นท้าทายว่า นี่เป็นการรุกคืบด้วยความคิดสร้างสรรค์ของนักโฆษณาที่มีต่อนักข่าวเสียแล้ว

……
Joe McCambley นักโฆษณาคนแรกที่ทำแบนเนอร์แอดลงในอินเตอร์เน็ตตั้งแต่ปี 1994 บอกว่า อาจเป็นข่าวที่ถูกทำลายหากนักข่าวไม่ระมัดระวังอย่างเพียงพอ นักโฆษณาอาจยืมเอารูปแบบของการนำเสนอแบบข่าวมาใช้ในนการทำงานแบบโฆษณา เป็นการยืมรูปแบบการนำเสนอแบบข่าวมาใช้, แต่เมื่อใดก็ตามที่นักโฆษณา เอเจนซี่ มามีอิทธิพลอยู่เหนือความอิสระของกองบรรณาธิการข่าวแล้วละก็ ข่าวหรือนักข่าวก็อาจจะตายไปจริงๆก็ได้

เขาบอกว่า มีองค์กรข่าวและสื่อสิ่งพิมพ์กระดาษและออนไลน์จำนวนมาก ที่ทำงานตามแนวทางของข่าวแบบพีอาร์และเอเจนซี่โฆษณา ไม่เพียงเท่านั้น เขายังอนุญาตให้บริษัทโฆษณาเหล่านี้เข้ามาบริหารจัดการกระบวนการภายในองค์กรสื่อ และอนุญาตให้พวกเขาตีพิมพ์ข่าวโฆษณาโดยตรงกับสื่อเหล่านั้น และผมคิดว่านี่คือความผิดพลาดที่ใหญ่หลวง

มันกลายเป็นพื้นลาดเอียงที่ค่อนข้างจะลื่นเสียด้วย และสามารถฆ่านักข่าวได้ ถ้าพวกเขา(องค์กรสื่อ)ไม่ระวัง
ในทางวารสารศาสตร์ เราเข้าสู่ยุคผู้ใช้เป็นผู้ผลิตข่าวสาร “user generated content”

แต่ในทางการตลาดและโฆษณา เราก้าวมาสู่ยุค สปอนเซอร์เป็นผู้ผลิตข่าวสาร หรือ “sponsor generated content” เสียแล้ว!

เมื่อข่าว ไม่ใช่ข่าว! เมื่อข่าวร้ายกำลังจะหายไปและข่าวดีจะมีมากขึ้น
คำถามคือ คุณ/เรา/ผม จะรู้ได้อย่างไรว่าใครผลิตข่าวนี้ด้วยฐานคิดมุมมองใด?” และข่าวดีนี้ เป็นข่าวดีของใครกันแน่?”

ที่แน่ๆ ข่าวที่คุณกำลังอ่านวันนี้ อาจไม่ใช่ข่าวในแบบที่คุณเคยรู้จัก!

Time Chuastapanasiri
10 ชั่วโมงที่แล้ว
NATIVE ADVERTISING: ข่าวที่ไม่ใช่ข่าว?
(บทความนี้ ตั้งคำถามกับข่าว นักข่าว และสิ่งที่ไม่ใช่ข่าว!)

==============================
ธาม เชื้อสถาปนศิริ, นักวิชาการสื่อ, timeseven@gmail.com
สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.)

ไม่มีใครอ่านโฆษณาอีกต่อไป ผู้คนต้องการอ่านในสิ่งที่พวกเขาอยากอ่าน แม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นโฆษณาก็ตาม! เป็นคำสรุปที่พูดถึงงานโฆษณาในยุคเดิม และยุคใหม่ที่ผู้อ่านไม่รู้ตัวว่ากำลังอ่านโฆษณา

แน่นอน คุณคงเคยได้ยินคำว่า ข่าวร้ายลงฟรี ข่าวดีเสียตังค์หรือไม่? เพราะนี่กำลังจะกลายเป็นประโยคทีเล่นทีจริง ที่เริ่มจริงมากขึ้นในวรรคหลัง

มันเริ่มที่เหตุผลว่า ทำไมข่าวสื่อจึงมีแต่ข่าวร้าย, ข่าวดีหายไปไหน?, มันกลายโอกาส สำหรับองค์กรสื่อที่ทำให้หารายได้มากขึ้น, มันเป็น วิกฤติของวิชาชีพสื่อต่อจรรยาบรรณวิชาชีพ และมันเป็นความสลับซับซ้อนต่อผู้เสพข่าว ว่าเราอยู่ในโลกของความจริงรอบด้าน หรือความจริงครึ่งเดียว?


>>>>>1) Native Ad. : ข่าวหรือโฆษณา?

กันยายน 2013 ที่ผ่านมา, คณะกรรมการการค้าพันธรัฐ หรือ Federal Trade Commission (FTC) อเมริกา, ได้แสดงความกังวลต่อรูปแบบการโฆษณาที่ เบลอระหว่างเนื้อหาข่าวกับโฆษณา โดยมีบริษัทด้านการตลาดใช้วิธีการโฆษณาแฝงลงไปในข่าว ที่เรียกว่า “Native Ad” โดย FTC ออกประกาศเตือนองค์กรข่าวหนังสือพิมพ์ สื่อวิทยุโทรทัศน์ ที่ใช้วิธีการโฆษณาเช่นนี้ ว่าไม่เป็นธรรมสำหรับผู้บริโภค เพื่อเริ่มเห็นปรากฎการณ์ข่าวโฆษณาแฝงนี้มากขึ้นบนสื่อออนไลน์และสื่อสิ่งพิมพ์หลายแขนงใช้โฆษณาแบบนี้

วิกิพีเดียอธิบาย “Native Advertising” คือโฆษณาผ่านเว็บ ที่นักโฆษณาพยายามทำให้ดูน่าสนใจจากผู้อ่านด้วยการจัดพื้นที่โฆษณาให้อยู่ในบริบทที่ผู้อ่านคุ้นชินและมีประสบการณ์ โฆษณาที่ดูเป็นธรรมชาตินี้จะมีรูปแบบและหน้าที่เสมอเหมือนบนหน้าเพจที่มันวางอยู่ (จนคุณไม่รู้ว่าเป็นโฆษณา)

และมันจะต้องตีพิมพ์ หรือปรากฏอยู่อย่างบ่อยๆ เสมอๆ เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้กับผู้อ่านเสมือนว่าเป็นหน้าที่และสิ่งที่ขาดไปไม่ได้บนหน้าสื่อนั้นๆ

ว่าที่จริง โฆษณาข่าวแบบดูธรรมชาตินี้มันก็คล้ายกับโฆษณาเนื้อหาแบรนด์ (brand content) หรือ คล้ายๆ กับบทความเชิงโฆษณา (advertorial) แต่จุดต่างคือ มันทำให้ผู้คนยอมรับที่จะคลิ๊กอ่านมากกว่า และผู้โฆษณาก็ยินดีที่จะจ่ายเงินให้กับสื่อมากกว่าโฆษณาแบบเดิมๆ

วิธีการโฆษณาแบบโฆษณาแฝงนี้ ใช้ลักษณะการเขียนข่าว การเล่าเรื่องเหตุการณ์ต่างๆ ให้ผู้อ่านคิดว่านี่เป็นชิ้นข่าว โดยที่ผู้อ่านไม่รู้สึกถึงความแปลกแยกแตกต่าง, ซึ่งแทนที่จะทำเช่นเดิม คือการกรอบพื้นที่โฆษณาตรงๆ ไปในหน้าหนังสือพิมพ์ แต่พวกเขา (นักข่าว/นักโฆษณา?) กลับใช้วิธีการเขียนข่าวลงและแฝงเนื้อหาโฆษณาจากบริษัท หน่วยงาน สินค้า และบริการต่างๆ ที่พวกเขารับจ้างลงไปแทน

วิธีการโฆษณาเช่นนี้ ถูกใช้ในหนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ เช่น นิตยสารไทมส์แม็กกาซีน บลูมเบิร์ก ฟอร์บส์ นิวยอร์กไทมส์ วอชิงตันโพสต์ กระทั่งในเฟซบุ๊ค หรือทวิตเตอร์ก็ตาม

นักหนังสือพิมพ์และนักวิชาการเชื่อว่า “native ad” นี้จะสร้างความสับสนให้แก่ผู้อ่าน และทำลายมาตรฐานวิชาชีพนักข่าว (วารสารศาสตร์) โดยเฉพาะกระบวนการคิด/คัด/เลือกประเด็นข่าวที่มีผลต่อสาธารณะประโยชน์ที่ประชาชนควรรับรู้

และส่งผลต่อ แนวคิดเรื่องคุณค่าข่าว (news values)” ผิดเพี้ยนไปจากเดิม, ซึ่งเน้นไปที่ ผลกระทบสาธารณะ, เรื่องประโยชน์สาธารณะ, และเป็นสิ่งที่สาธารณะให้ความสนใจ/สำคัญ

ที่น่าสนใจคือ หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ ประกาศ(อย่างโจ่งแจ้งทางการ) ต่อสปอนเซอร์ต่างๆ เพื่อ ขายพื้นที่ข่าวโฆษณาแท้ๆให้กับผู้ที่สนใจ โดยได้จัดตั้งหน่วยพิเศษขึ้นมาในกองบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ตนเอง เพื่อปรับรับการทำการเขียนข่าวแบบโฆษณาแท้ๆ ให้กับองค์กรบริษัทต่างๆที่ต้องการทำการโฆษณาแบบหวังผลการอ่านที่แท้จริง

อย่างไรก็ตาม การโฆษณาแบบนี้มิใช่สิ่งใหม่ทีเดียวนัก โฆษณาประชาสัมพันธ์เช่นข่าวแจก (Press Release) ก็ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการโฆษณาในข่าว โดยใช้ข่าวเป็นการโฆษณาของบริษัท/องค์กรมายาวนาน เพียงแต่นั่นอาจดู เก่า เชย และตรงไปตรงมาด้วยภาษาข่าวที่เป็นแบบตามฉบับลีลาขององค์กรนั้นๆ หรือในบางครั้ง องค์กรธุรกิจก็อาจพานักข่าวไปดูงานต่างประเทศ หรือเปิดตัวสินค้าผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อให้นักข่าวกลับมาเขียนข่าวให้เพื่อแลกกับค่าตอบแทนในการท่องเที่ยว หรือ มีสิ่งของสมนาคุณอื่นๆ

การเขียนข่าวโฆษณาแบบ เนทิฟแอดเพื่อให้ผู้อ่านเชื่อว่าเป็นข่าว นักข่าวต้องอาศัยทักษะอย่างมาก (ว่าที่จริงก็ไม่มากกว่าเดิม เพราะใช้ทักษะการทำข่าวแบบเดิมนั่นเอง) 3 อย่างคือ
(1) รูปแบบภาษาของหนังสือพิมพ์นั้นๆ ลีลา คำ แนวเล่าเรื่อง
(2) เนื้อหา แนวทางเนื้อหา, การกำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้อ่าน, แง่มุมของข่าวที่สอดคล้องกับแบรนด์สินค้า
(3) การจัดวางองค์ประกอบศิลป์ แบบตัวอักษร, งานออกแบบกราฟิก

และกลยุทธ์ของงานโฆษณาเนทีฟแอด จะทำ 3 อย่าง คือ
บูรณาการเนื้อหาข่าวที่ผู้อ่านอยากอ่าน กับ โฆษณาในสิ่งที่สปอนเซอร์มุ่งหวัง + เพิ่มทักษะการผลิตระหว่างนักข่าว นักโฆษณา และนักออกแบบ + พันธะสัญญาผูกพันระหว่างองค์กรข่าว เอเจนซี่ นักโฆษณาและนักการตลาดในระยะยาว” (ดูเพิ่มเติม http://mashable.com/2012/12/13/infographic-native-advertising/) ซึ่ง เนทีฟแอดนี้กลายเป็นที่นิยมมากขึ้น จากผลการสำรวจผู้ค้า ธุรกิจองค์กร ค้นพบว่าพวกเขายินดีทำการโฆษณาแบบนี้เพิ่มมากขึ้นเป็น 57% ในปี 2013 ทั้งๆ ที่ปีที่แล้วมีเพียง 12.6% เท่านั้นที่คิดว่ามันได้ผล

และมีธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์มากถึง 37% ที่บอกว่าพวกเขาอยากจะเพิ่มข่าวโฆษณาแบบเนทีฟแอดนี้ลงไปในเนื้อหาของตน โดยสาเหตุที่ทำให้เนทีฟแอดมีความสำคัญมากขึ้นเช่นนี้ ก็เพราะสถิติการคลิ๊กโฆษณาแบนเนอร์บนอินเตอร์เน็ตระหว่างปี 2000 – 2012 นั้นลดลงอย่างน่าตกใจ คือ จาก 9% ลงลงเหลือเพียง 0.2% เท่านั้น

ข้อดีจริงๆ ของเนทีฟแอด คือ มันดูไม่เหมือนโฆษณาเอาเสียเลย, และค่อนข้างเป้นวิธีการที่ดีในการโฆษณาบนสื่อออนไลน์ สื่อสิ่งพิมพ์ มันใช้ได้ดีกับการตลาด เพราะผู้อ่านจะไม่ปฏิเสธมัน ด้วยลักษณะแบบเดิมๆ คือ แถบโฆษณา

ทั้งหมดก็เพื่อให้ผู้อ่านเชื่อจริงๆ ว่า ที่อ่านอยู่นั้นคือข่าว


>>>>>2) promotion news : นักโฆษณามีอิทธิพลเหนือนักข่าว?

คำถามที่สำคัญคือ ถ้าโฆษณาเช่นนี้ถูกใช้มากๆ ในสื่อหนังสือพิมพ์ แล้วอะไรที่จะเกิดขึ้นกับข่าวล่ะ?

คำตอบง่ายๆ ก็คือ แนวคิดเรื่องคุณค่าข่าวจะถูกบิดเบือนและทดแทนผลประโยชน์สาธารณะด้วยผลประโยชน์ทางการค้าธุรกิจโฆษณาเสียแทนนั่นเอง
บทความชื่อ “Beyond advertising and Journalism: hybrid promotional news discourse” ในวารสาร Discourse & Journal โดย Karmen Brjavec วิเคราะห์ปัญหานี้ว่า เส้นแบ่งระหว่างข่าวกับโฆษณาที่เบลอมากขึ้นด้วยความกังวลใจที่ว่า เมื่อก่อนผู้อ่านอาจะสามารถแบ่งว่าอะไรคือโฆษณา หรือ บทความเชิงโฆษณาได้ออก แต่หลายปีที่ผ่านมานี้ ความชัดเจนเรื่องนี้ ยากที่จะดูออกไปทุกที

เขาเรียกมันว่า ข่าวโปรโมท – promotional news” ซึ่งก็อาจเก่าสำหรับยุคนี้ ที่ใช้วิธีการนี้มานาน, วิธีการศึกษาของเขา คือการสัมภาษณ์นักข่าวและสปอนเซอร์ สังเกตอย่างไม่มีส่วนร่วมกับกองบรรณาธิการ การประชุมโต๊ะข่าว และการวิเคราะห์ภาษาในหนังสือพิมพ์ ซึ่งทำให้สามารถค้นพบ 6 องค์ประกอบสำคัญในการ ทำโฆษณาให้เป็นข่าวที่อาจมาทำลาย/หรือดัดแปลงวิธีการเขียนข่าว ไปอย่างสิ้นเชิง ดังนี้


(1)          การกำหนดหัวเรื่องข่าว;

ซึ่งถ้าเป็นข่าวปกติ บก. หรือหัวหน้าข่าวจะเป็นคนวางแนวเรื่องข่าวตามสิ่งที่ผู้ชม/ผู้อ่านควรจะทราบ แต่ถ้าเป็นข่าวโปรโมท จะต้องมีเนื้อหาเช่น เนื้อหาเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่ได้รับการปรับปรุง, การทำสัญญาใหม่ๆ ที่องค์กรจัดทำ หรือที่ลูกค้าสามารถทำได้, ความสำเร็จก้าวหน้าขององค์กรธุรกิจ, มีบุคคลสำคัญ(ใคร)มาเยี่ยมชมที่โรงงาน/บริษัท, บริษัทได้สั่งซื้อสินค้าหรืออุปกรณ์ใหม่มาเพื่อการผลิตสินค้า/บริการ, แผนงานธุรกิจสำคัญของบริษัท, วิธีการอื่นๆ ที่จะวัดความสำเร็จ ซึ่งปกติแล้ว แง่มุมของเรื่องราวเช่นนี้จะไม่ถูกพิจารณาเป็นประเด็นข่าวไปได้ในอดีต แต่ปัจจุบัน มันคือประเด็นข่าวหลักๆ ในข่าวโปรโมท

(2)          การกำหนดทัศนะมุมมองของข่าวบางมุม;

จะมีเพียงแง่มุมเดียว ซึ่งมักเป็นเชิงบวก ภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร และมีกลุ่มเป้าหมายของข่าวชัดเจนเพียงกลุ่มเดียว (กลุ่มลูกค้าที่ดู หรืออ่านข่าวนี้)

(3)          การกำหนดแหล่งข้อมูลทางเดียว;

หากเป็นข่าวปกติ จะต้องมีแหล่งข่าวที่หลากหลาย สมดุล สะท้อนความคิดเห็นที่ต่างมุมมอง แต่เมื่อเป็นข่าวโปรโมชั่น อาจมีแหล่งข่าวได้หลายคน หลายแหล่ง แต่ทุกแหล่งที่นำมาอ้าง จะสะท้อนมุมมองด้านเดียวกันทั้งหมด และส่วนมากจะเป็นด้านที่มาจากฝั่งบริษัท/ธุรกิจองค์กรนั้นๆ

(4)          การกำหนดกลุ่มคำที่ใช้เติมแต่งในรายงานข่าว;

ปกติภาษาข่าวโดยทั่วไปมักใช้กลุ่มคำในเชิงลบ เชิงขัดแย้ง, แต่ข่าวโปรโมทจะใช้กลุ่มคำที่มีความหมายเชิงบวก, คำที่มีความสอดคล้องกับความสำเร็จ หรือเกี่ยวกับสโลแกน หรือ คำโฆษณาขององค์กรนั้นๆ ลงไปในภาษาข่าว เช่น คำที่สื่อความหมายสร้างภาพลักษณ์องค์กร สื่อถึงความสำเร็จของสินค้า/บริการ, คุณภาพที่ดี, คำคุณศัพท์เชิงบวกเหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ความสำเร็จของบริษัทในสายตาผู้อ่านให้ดีมากขึ้น

(5)          การถ่ายทอดกรรม;

วิธีการเขียนข่าวโปรโมท จะมีโครงสร้างประโยคที่เปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่างบริษัทที่ทำดี กับที่ไม่ได้ทำดี (หรือดีไม่พอ)โดยเขียนข่าวในลักษณะเปรียบเทียบความดีกว่า พัฒนากว่า ปรับปรุงกว่า เพิ่มมูลค่ากว่า ประหยัดกว่า ดีกว่า กับ อีก องค์กรหนึ่ง (หรือก็สามารถใช้ได้ทางการสื่อสารเปรียบเทียบทางการเมือง เช่นกัน)

(6)          การสร้างคำจดจำ;

การเขียนข่าวโปรโมท มักใช้คำเรียกชื่อเต็ม/ทางการตลาดของบริษัทบ่อยครั้ง และขึ้นต้นประโยคทุกครั้ง หรือไม่ก็ พูดชื่อสินค้า และบริการนั้นๆ บ่อยในทุกขึ้นย่อหน้าข่าว ซึ่งแตกต่างจากการเขียนข่าวแบบปกติ ที่มักจะเขียนคำย่อ ชื่อย่อ

นอกจากนี้ ผลการศึกษายังค้นพบว่า ข่าวโปรโมชั่นนี้จะถูกกำหนดเป็นโฆษณาอย่างหนึ่งในกองบรรณาการ โดยจะมี ตัวแทนมากำหนดแนวทางการเขียนข่าวโดยมุ่งผลประโยชน์ของบริษัท/ธุรกิจ/การเงินและการสร้างกำไร มากกว่าผลประโยชน์ในแบบกองบรรณาธิการข่าว

ที่น่าสนใจคือ นักข่าวและกองบรรณาธิการส่วนมากมีปฏิกิริยาเชิงบวกต่อรูปแบบการทำงานแบบนี้ เพราะว่าทุกคนได้รับผลประโยชน์ทั้งหมด

นักข่าวได้รายได้มากขึ้นและสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำงานมากขึ้น เจ้าของหนังสือพิมพ์ได้เงินค่าโฆษณาและการบริหารจัดการที่สะดวกมากขึ้นด้วยความช่วยเหลือของสปอนเซอร์ในการทำข่าว (ค่ารถ ค่าที่พัก ค่าอุปกรณ์ ค่าเขียนชิ้นข่าว และค่าโฆษณาโดยตรง) นักโฆษณาก็ได้ผลตอบรับที่ดีจากเนื้อหาโฆษณาที่ตอบโจทย์บริษัท เข้าถึงผู้อ่าน และสร้างความเป็นไปได้ในโอกาสทางธุรกิจมากกว่า และในแง่มุมของผู้บริโภค ก็ได้เนื้อหาข่าวที่ดีกว่าเดิม มีข้อมูลถูกต้องมากขึ้น รายละเอียดมากขึ้น อรรถประโยชน์อื่นๆ มากขึ้น หรืออาจหมายรวมไปถึง ตัวเล่มหนังสือพิมพ์ที่จะได้คุณภาพกระดาษดีขึ้น สีสัน การพิมพ์ที่ดีขึ้น เพราะสปอนเซอร์ยินดีจ่ายให้ดีกว่าไปลงค่าโฆษณาตรงๆ แพงๆ แต่ผู้อ่านเปิดผ่านไปโดยไม่เหลียวมอง


โฆษณาแบบนี้ สปอนเซอร์ต้องจ่าย เป็น 3 เท่าของอัตราค่าโฆษณาแบบเดิม!

โดยตัวแทนโฆษณาจะ ประสานงานโดยตรงกับบรรณาธิการข่าว ที่เรียกว่า ขอความอนุเคราะห์ร่วมมือซึ่งจะรับรู้และเรียกชิ้นข่าวโฆษณานี้ว่า ข่าวโฆษณาแฝง” (hidden advertisement) หรือ ข่าวซื้อ” (paid news)
เมื่อเส้นแบ่งบางๆ ระหว่างโฆษณากับข่าวค่อยๆ จางลงไป, การแบ่งบทบาทหน้าที่ระหว่างฝ่ายโฆษณา กับฝ่ายข่าว ก็หายไปด้วย, นั่นทำให้นักโฆษณาเริ่มเข้ามามีอิทธิพลอยู่เหนือบรรณาธิการข่าว, เพราะหลายๆ ครั้งการตกลงทำข่าวโฆษณา เป็นเรื่องของการหารายได้เข้าองค์กรมากกว่าความอิสระทางบรรณาธิการเช่นในอดีต

นักข่าวหลายคน จำเป็นที่ต้องฝึกให้เขียนข่าวในลักษณะงานโฆษณามากขึ้นด้วยความเต็มใจ


>>>>>3) new journalism : วารสารศาสตร์แนวใหม่-แนวของใคร?

อย่างไรก็ตามผลการศึกษา ของ Karmen ชี้ว่า บรรณาธิการข่าวหนังสือพิมพ์มีปฏิกิริยาในเรื่องนี้แต่งต่างกัน 3 ทาง คือ (1) ปฏิเสธการทำข่าวแบบนี้เพราะผิดจริยธรรม, (2) คือแล้วแต่คนแล้วแต่กรณี และขึ้นอยู่กับนโยบายหรือผลประโยชน์ที่ได้ว่าขัดแย้งหรือไม่กับแนวทางตน/และองค์กร, (3) คือ ยอมรับการโฆษณาแบบนี้ด้วยเหตุผลแรงกดดันทางธุรกิจที่ต้องแข่งขันหารายได้ หากไม่รับ, สปอนเซอร์เหล่านี้ก็ไปลงโฆษณาแบบนี้ที่องค์กรสื่ออื่นๆ อยู่ดี!

เมื่อมองลงไปที่ตัวนักข่าวในองค์กร ค้นพบ 5 ปฏิกิริยาคือ
(1) ปฏิเสธโดยสินเชิงเพราะผิดจริยธรรมวิชาชีพ,
(2) ปฏิเสธโดยหลักการ แต่ยอมรับวิธีการเช่นนี้เพราะคิดถึงความมั่นคงทางการเงินขององค์กรสื่อ,
(3) มองว่าเขียนข่าวแฝงโฆษณาแบบนี้ไม่น่าจะผิด
(4) ยอมรับการเขียนข่าวแบบนี้และทำเสมือนว่ามันเป็นเรื่องปกติ และ
(5) กระตือรือร้น และอยากเขียนข่าวแบบนี้มากขึ้น เพราะได้เงินค่าตอบแทนมากขึ้น ทำงานข่าวน้อยลง แต่ง่ายขึ้น เสร็จเร็วขึ้น!

ที่สุดเราอาจเรียกข่าวแบบนี้ว่าเป็น “market journalism” หรือ “MBA journalism” ซึ่งเป็นแนววารสารศาสตร์ที่ยืนอยู่บนหลักการที่ว่า ทำอย่างไรก็ได้ให้มีผู้อ่านมากขึ้น, ลดต้นทุนการผลิตข่าวให้ต่ำลง และ อย่ายืนขวางทางผลประโยชน์ของบริษัททุนและโฆษณาใหญ่ๆ

เมื่อมองให้ลึกขึ้น, สิ่งที่ยังเป็นคำถามคือ แนวคิดเรื่องคุณค่าข่าวเดิม ที่วิชาชีพสื่อยึดถือเป็นอุดมการณ์ จะถูกแรงปะทะท้าทายอย่างมาก, คุณค่าข่าวที่ยึดถือความสนใจสาธารณะ ประเด็นสาธารณะ และผลประโยชน์สาธารณะ ที่เป็นอุดมการณ์ของข่าวเพื่อเฝ้าระวังสังคม เตือนภัยแก่ประชาชน ตรวจสอบรัฐบาล หรือกระทั่งข่าวสืบสวน สอบสวน ก็คงจะหายไปมาก

(McDonald's in the Paper: ภาพโฆษณาแม็คโดนัลด์ที่ซื้อพื้นที่ในตัวอักษรเนื้อหาข่าว)


การสื่อข่าวโปรโมท หรือ ข่าวโฆษณาแบบเหมือนเป็นข่าวแบบนี้ จะกลายมาเป็นปัญหาสำคัญที่นักวิชาการและวิชาชีพควรได้ถกเถียงกันมากขึ้น

และตั้งคำถามต่อแนวคิดเรื่อง ผู้กำหนดวาระข่าวสาร ผู้คัดกรองข่าวสาร (agenda setting/gate keeper) ว่า เมื่อข่าวไม่ใช่ข่าว และแนวคิดคุณค่าข่าว ถูกย้ายฐานการผลิต สรรหา เลือกเฟ้นจากฐานผู้อ่าน ไปสู่ฐานของสปอนเซอร์ผู้สนับสนุนข่าวเป็นหลัก?

เมื่องานโฆษณา กลายมาเป็นอำนาจอิทธิพลในห้องข่าว ต่อกองบรรณาธิการ และต่อตัวจิตวิญญาณของคนข่าวเดิม ต่อไปนี้ ความจริงที่นักข่าวเคยตั้งหน้าแสวงหา ก็คงกลายเป็นความจริงเพียงครึ่งเดียว?

หากข่าวโปรโมทมีมากขึ้น และดีตามที่นักข่าวนำมาอ้างจริง คำถามคือ สังคม/ประโยชน์สาธารณะได้ประโยชน์ด้วยหรือไม่?

และนิยามข่าวในวิชาข่าวคงต้องรื้อสร้างเปลี่ยนแปลงกันยกใหญ่, ปัญหาคือ นักข่าวจะคงหลักการวารสารศาสตร์แบบเดิมเอาไว้ ในเรื่องความสมดุล เป็นธรรม ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน หรือจะเปลี่ยนเป็นแนวทางใหม่ตามความคิดสร้างสรรค์ของนักโฆษณากันดี?

หลายปีก่อน บริษัทอาหารแม็คโดนัลด์ซื้อโฆษณาบนหน้าหนังสือพิมพ์ประเทศคานาดา โดยลงโฆษณาเป็นรูปแฟรนซ์ไฟร์ด และรูปแฮมเบอร์เกอร์ โดยใช้การแต่งสีสันของตัวหนังสือ/ตัวอ่านให้เป็นสีของแฮมเบอร์เกอร์ หรือรูปแฟรนซ์ไฟร์ด แต่เนื้อหาข่าวนั้นยังเป็นข่าวจริงทั่วๆ ไป! ณ ตอนนั้น เป็นความตื่นเต้นท้าทายว่า นี่เป็นการรุกคืบด้วยความคิดสร้างสรรค์ของนักโฆษณาที่มีต่อนักข่าวเสียแล้ว

……
Joe McCambley นักโฆษณาคนแรกที่ทำแบนเนอร์แอดลงในอินเตอร์เน็ตตั้งแต่ปี 1994 บอกว่า อาจเป็นข่าวที่ถูกทำลายหากนักข่าวไม่ระมัดระวังอย่างเพียงพอ นักโฆษณาอาจยืมเอารูปแบบของการนำเสนอแบบข่าวมาใช้ในนการทำงานแบบโฆษณา เป็นการยืมรูปแบบการนำเสนอแบบข่าวมาใช้, แต่เมื่อใดก็ตามที่นักโฆษณา เอเจนซี่ มามีอิทธิพลอยู่เหนือความอิสระของกองบรรณาธิการข่าวแล้วละก็ ข่าวหรือนักข่าวก็อาจจะตายไปจริงๆก็ได้

เขาบอกว่า มีองค์กรข่าวและสื่อสิ่งพิมพ์กระดาษและออนไลน์จำนวนมาก ที่ทำงานตามแนวทางของข่าวแบบพีอาร์และเอเจนซี่โฆษณา ไม่เพียงเท่านั้น เขายังอนุญาตให้บริษัทโฆษณาเหล่านี้เข้ามาบริหารจัดการกระบวนการภายในองค์กรสื่อ และอนุญาตให้พวกเขาตีพิมพ์ข่าวโฆษณาโดยตรงกับสื่อเหล่านั้น และผมคิดว่านี่คือความผิดพลาดที่ใหญ่หลวง

มันกลายเป็นพื้นลาดเอียงที่ค่อนข้างจะลื่นเสียด้วย และสามารถฆ่านักข่าวได้ ถ้าพวกเขา(องค์กรสื่อ)ไม่ระวัง
ในทางวารสารศาสตร์ เราเข้าสู่ยุคผู้ใช้เป็นผู้ผลิตข่าวสาร “user generated content”

แต่ในทางการตลาดและโฆษณา เราก้าวมาสู่ยุค สปอนเซอร์เป็นผู้ผลิตข่าวสาร หรือ “sponsor generated content” เสียแล้ว!

เมื่อข่าว ไม่ใช่ข่าว! เมื่อข่าวร้ายกำลังจะหายไปและข่าวดีจะมีมากขึ้น
คำถามคือ คุณ/เรา/ผม จะรู้ได้อย่างไรว่าใครผลิตข่าวนี้ด้วยฐานคิดมุมมองใด?” และข่าวดีนี้ เป็นข่าวดีของใครกันแน่?”


ที่แน่ๆ ข่าวที่คุณกำลังอ่านวันนี้ อาจไม่ใช่ข่าวในแบบที่คุณเคยรู้จัก!